hitexts

Hi, We texts to you.

นำเงินบริษัทมาใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

เมื่อลงทุนทำธุรกิจด้วยการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทแล้วตัวบริษัทจะมีสถานะเป็น “นิติบุคคล” ตามกฎหมาย

หลายกิจการมีปัญหาการเงินเพราะแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นของบริษัทหรือของเจ้าของจึงนำเงินมาใช้ปนเปกันไปหมด

ซึ่งจะส่งผลต่อระบบบัญชีการเงินของบริษัทได้ในเวลาต่อมาเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาชีวิตในภายหลัง

หากจะนำเงินบริษัทออกมาใช้ต้องทำตาม 6 วิธีการต่อไปนี้ เจ้าของกิจการจะนำเงินของบริษัทมาใช้ได้อย่างถูกต้องมีรูปแบบและวิธีใดบ้าง

รวมถึงแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียทางภาษีแตกต่างกันอย่างไร

6 วิธีการต่อไปนี้ เจ้าของกิจการจะนำเงินของบริษัทมาใช้ได้อย่างถูกต้อง 

1.เงินเดือน

เงินเดือน หรือ ค่าตอบแทนของเจ้าของกิจการเนื่องจากกิจการจะอยู่ในรูปแบบนิติบุคคลส่วนเจ้าของกิจการอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดาซึ่งถือเป็นคนละบุคคลกันในทางกฎหมายและเมื่อเจ้าของกิจการทำงานให้กับกิจการจึงมีสิทธิได้รับเงินเดือนค่าตอบแทนเช่นกัน

      และวิธีการจ่ายเงินเดือนให้กับเจ้าของกิจการถือเป็นการนำเงินของกิจการออกไปใช้ส่วนตัวได้อย่างถูกต้องตามหลักทางบัญชี

    ซึ่งเงินเดือนที่จ่ายให้กับเจ้าของกิจการสามารถนำมาเป็นรายจ่ายของกิจการ ทำให้บริษัทเสียภาษีลดลงสูงสุดได้ถึง 20% แต่ก็ขึ้นอยู่กับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการที่ต้องจ่ายด้วย 

ส่วนเจ้าของกิจการจะต้องนำรายได้จากเงินเดือนนี้ ไปรวมเป็นรายได้ที่ได้รับ เพื่อนำไปคำนวณในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2.เงินโบนัส

กิจการสามารถจ่ายโบนัสให้กับเจ้าของกิจการในฐานะกรรมการได้ในลักษณะเดียวกับที่จ่ายเงินเดือน

โดยจะสามารถนำมาหักภาษีนิติบุคคลได้สูงสุด 20% แต่ก็ขึ้นอยู่กับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการที่ต้องจ่ายด้วยส่วนทางด้านเจ้าของกิจการจะต้องนำโบนัสที่ได้รับนี้ไปรวมเป็นรายได้ เพื่อใช้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องจ่ายด้วยเช่นกัน

สำหรับทั้งโบนัสและเงินเดือนหากนำยอดรวมทั้งปีมาคิดภาษีบุคคลธรรมดาแล้วมียอดภาษีต้องเสียกิจการต้องหักภาษี ณ วันที่จ่ายเอาไว้ตามอัตราก้าวหน้าเพื่อนำส่งสรรพากรด้วย

3.ให้กรรมการกู้ยืมเงิน

ส่วนใหญ่เวลาที่เจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการได้นำเงินของกิจการออกไปใช้ โดยไม่สามารถบอกได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นรายจ่ายค่าอะไรนักบัญชีจะลงบัญชีว่า “ให้กรรมการกู้ยืมไป” ซึ่งวิธีนี้ถือว่ามีข้อเสียอยู่มากเพราะการที่กิจการให้กรรมการกู้ยืมถือเป็นการดำเนินธุรกิจลักษณะเดียวกับธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะต้องมีการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม

และเมื่อกิจการมีรายได้ดอกเบี้ยรับเข้ามา (ถึงแม้ทางปฏิบัติจริงจะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยให้กิจการก็ตาม) จะต้องนำมารวมในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งถ้าหากรับดอกเบี้ยมาสูงก็จะส่งผลให้ต้องเสียภาษีสูงขึ้นตามไปด้วยเป็นการแก้ปัญหาการนำเงินกิจการออกไปใช้ในระยะสั้นแต่ในระยะยาวถือว่าไม่เหมาะ

4.เงินปันผล

การจ่ายเงินปันผลเป็นการนำเงินของกิจการออกมาใช้ที่ดีวิธีหนึ่งแต่ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นมักไม่นิยมใช้เพราะนอกจากเงินปันผลจะไม่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการในการคำนวณภาษีได้แล้ว (เพราะต้องนำกำไรสะสมหลังจากจ่ายภาษีทั้งหมดมาจ่ายเงินปันผล) ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% ของเงินปันผลที่จ่ายเพื่อนำส่งสรรพากร 

การจ่ายเงินปันผลนี้จะต้องเป็นเงินจากผลกำไรหากกิจการขาดทุนก็จะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้

ส่วนเจ้าของกิจการในฐานะผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผลสามารถเลือกได้ว่าต้องการนำรายได้เงินปันผลดังกล่าวมารวมเป็นรายได้เพื่อเสีย “ภาษีบุคคลธรรมดา” หรือไม่ซึ่งจะเลือกไม่นำมารวมโดยใช้สิทธิ final tax (หัก ณ ที่จ่าย 10% แล้วไม่ต้องนำทั้งรายได้และภาษีที่ถูกหักไว้มารวมคำนวณสำหรับภาษีทั้งปีอีก)

หรือจะเลือกนำเงินปันผลมารวมเป็นรายได้เพื่อยื่นภาษีก็ให้นำทั้งเงินปันผลรับและภาษีที่ถูกหักไว้ 10% มารวมคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาและหากมียอดภาษีที่ชำระไว้เกินก็จะสามารถขอคืนภาษีได้

5.ค่าเช่า

หากเจ้าของกิจการได้นำสินทรัพย์ต่างๆ ของตนเองไม่ว่าจะเป็น บ้าน โกดัง ที่ดิน สำนักงาน รถยนต์ เป็นต้นมาใช้ในกิจการ กิจการสามารถจ่ายเป็นค่าเช่าให้กับเจ้าของกิจการเป็นการตอบแทนได้แต่จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

ทั้งนี้กิจการสามารถนำรายจ่ายจากค่าเช่าต่างๆ ไปหักค่าใช้จ่ายกิจการในการคิดภาษีได้ตามจริงที่จ่ายไปยกเว้น “ค่าเช่ารถยนต์” จะมีกำหนดว่าสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้สูงสุดไม่เกิน 36,000 บาทต่อเดือน

ดังนั้นเพื่อประโยชน์ทางภาษีกิจการไม่ควรจ่ายค่าเช่ารถยนต์เกิน 36,000 บาทต่อเดือน

ส่วนเจ้าของกิจการต้องนำรายได้จากค่าเช่านี้ไปรวมเป็นรายได้เพื่อยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

6.ค่าบริการ

เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นบางคนอาจไม่ได้ทำงานประจำกับบริษัทเจ้าของบางรายอาจจะเข้ามาช่วยให้คำปรึกษาบริษัทเป็นบางครั้งหรือรับผิดชอบทำงานบางอย่างเมื่อทำสำเร็จกิจการก็สามารถจ่ายเงินให้กับเจ้าของกิจการเป็นค่าบริการได้ เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของ ค่านายหน้า โดยการจ่ายเงินค่าบริการในลักษณะนี้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ด้วย 

โดยกิจการสามารถนำค่าบริการที่จ่ายไปมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงได้ส่วนเจ้าของกิจการจะต้องนำค่าบริการที่ได้รับไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของเองด้วย

สรุป

ลักษณะของเงินได้แต่ละประเภท

* กิจการสามารถนำรายจ่ายจากค่าเช่าต่างๆ ไปหักค่าใช้จ่ายกิจการในการคิดภาษีได้ตามจริงที่จ่ายไป ยกเว้นค่าเช่ารถยนต์จะมีกำหนดว่า สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้สูงสุดไม่เกิน 36,000 บาทต่อเดือน

** เงินปันผลจ่ายจากกำไรสะสมของกิจการ (หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ และภาษีแล้ว)

จากตารางด้านบนจะเห็นว่าการนำเงินของกิจการออกมานั้นสามารถทำได้หลายวิธีแต่ควรพิจารณาถึงรูปแบบของเงินที่จะเอาออกมารวมถึงภาระภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องศึกษาผลกระทบหลายๆ ด้านที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการและกับเจ้าของกิจการว่าแบบไหนจะมีประโยชน์ทางภาษีมากกว่ากันเพื่อให้มั่นใจว่าทั้งกิจการและเจ้าของได้ดำเนินการอย่างถูกวิธีและเสียภาษีอย่างถูกต้องนั่นเอง

by Inflow Accounting

Related Post

ขายอะไรดี?
30Sep

ขายอะไรดี?

ขายอะไรดีคือคำถามยอดฮิตมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและจะถามอย่างนี้ไปอีกนานจนกว่าโลกจะแตกเพราะใครๆ ก็อยากขายได้ ขายดีกันทั้งนั้น

ธุรกิจตัดสินแพ้ชนะด้วยคน
09Sep

ธุรกิจตัดสินแพ้ชนะด้วยคน

บางครั้งเราอาจลืมคิดเรื่องคนว่าสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างไรแล้วไปทุ่มลงทุนด้านอื่นๆ เช่น เทคโนโลยี การตลาด การขายสุดท้ายธุรกิจไปไม่รอด

วิธีนำเงินบริษัทมาใช้แบบถูกต้อง
27Aug

วิธีนำเงินบริษัทมาใช้แบบถูกต้อง

หาเงินมาได้ก็อยากใช้เงินบ้างแต่ช้าก่อนหากเป็นเงินบริษัทต้องใช้ให้ถูกวิธีไม่งั้นปัญหาชีวิตจะตามได้ในภายหลัง

Digital Transformation กับ SME ไทย
26Aug

Digital Transformation กับ SME ไทย

SME ต้องเปลี่ยแปลงตัวเองตามโลกที่เปลี่ยนไปหากไม่ทำอะไรเลยนั่นคือการพร้อมฆ่าตัวตายจาก Digital ไปแบบไม่มีวันกลับ Digital Transformation

บริษัทได้คน ผู้สมัครได้งาน
28Jul

บริษัทได้คน ผู้สมัครได้งาน

งานคือเงินและเงินก็คืองานจะหางานอย่างไรให้ได้งานและบริษัทจะหาคนอย่างไรให้ได้คนนั่นคือทั่งสองฝ่ายต้องปรับตัวเข้าหากัน

2,300,000 คน
20Jul

2,300,000 คน

การบริหารที่ยากที่สุดคือการบริหารคนเพราะคนคือปัญหาที่มีขาและยิ่งคนจำนวน 2,300,000 คนนั้นจะเป็นอย่างไรความสับสนวุ่นวายจะเป็นอย่างไร

© 2022 hitexts. All rights reserved