hitexts

Hi, We texts to you.

ทำไมต้อง Digital Transformation สำหรับ mSMEs ไทยเพราะรูปแบบการทำธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายได้เปลี่ยนแปลงไปสู่โลก Internet

ทำไมต้อง Digital Transformation สำหรับ m-SMEs ไทยเพราะรูปแบบการทำธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายได้เปลี่ยน แปลงไปสู่โลก Internet ไม่ว่าจะเป็นการเสิร์จหาทุกสิ่งที่พัก โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ข้อมูล ความรู้ ข่าวสาร สินค้า ซื้อ-ขายจ่ายโอนเงินและอื่นๆ อีกมากทุกสิ่งได้ถูกกระทำบนโลก Internet คนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกว่า 77.8% สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 62.5%  จำนวนธุรกรรมจ่ายผ่าน QR Code เพิ่มขึ้น 199% และจำนวนธุรกรรมบัตรเครดิต Online โตขึ้น 26% ธุรกรรมถอนเงินสดลดลง 18% และธุรกรรมเกี่ยวกับเช็คลดลง 19% จำนวนรายการผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น 160% เป็นสัดส่วนการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลต่อช่องทางออฟไลน์กว่า 80% ด้วยสถาน การณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพฤติกรรมของผู้บริโภครวมถึงความต้องการที่เปลี่ยนไปธุรกิจการค้าต่าง ๆ ก็มีความเปลี่ยนแปลงจาก B2B หรือ OEM มาเป็น D2C (Direct to Customer) จากเดิมที่ผู้ผลิตเป็นเพียงผู้ผลิตเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือรับผลิตเพื่อส่งให้ส่วนของพ่อค้าคนกลาง เช่น Modern Trade ไล่ลงไปจนถึงร้านค้าปลีกก่อนจะถึงมือผู้บริโภคเปลี่ยนเป็นจากผู้ผลิตไปสู่มือผู้บริโภคได้เลยโดยผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งทำให้ SME ที่อยู่ในช่วงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคจะต้องรีบเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สามารถอยู่รอดและก้าวต่อไปได้แล้วเช่นนี้หาก m-SMEs ยังอยู่เฉยก็จะต้องถอนตัวไปจากโลกธุรกิจแบบใหม่ (Digital Economy)

เมื่อมาดูว่า SME Digital Literacy กับระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในประเทศไทย

ทักษะความรู้ด้านดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ศักยภาพในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็ก

การพัฒนากรอบแนวคิดชี้วัด SME digital literacy และ SME digital transformation index มีความสำคัญต่อการเป็นเครื่องมือในการกำหนดแนวนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการส่งเสริมทักษะความรู้และเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กให้สามารถแข่งขันได้อย่างเหมาะสมในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

เทคโนโลยีดิจิทัลได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการใช้ชีวิตจนส่งผลให้โครงสร้างระบบเศรษฐกิจถูกแปรเปลี่ยนไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ที่สร้างโอกาสในการเติบโตและเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการประกอบธุรกิจอย่างสิ้นเชิงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจบางรายได้รับผลกระทบเชิงบวกจากการมีทักษะความรู้ด้านดิจิทัลและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างสำเร็จในขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลจะได้รับผลกระทบเชิงลบอย่างมากจนอาจล้มตายจากระบบเศรษฐกิจได้

ถึงแม้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบ ธุรกิจรายย่อยที่มีคนทำงานน้อยกว่า 10 คน (micro) และผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กที่มีคนทำงาน 11–100 คน (small) มีช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นและใช้เงินลงทุนในการเริ่มต้นธุรกิจที่น้อยลงจากการเข้าถึงบริการต่างๆ ที่นำเสนอผ่าน e-commerce platform หรือ sharing platform แต่ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่จะสร้างความมั่นใจได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในประเทศไทยทุกรายจะมีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล (digitalization) จนนำมาสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์

การส่งเสริมระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัล (digital literacy) ให้แก่ผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ SMEs ซึ่งการวัดประสิทธิภาพของนโยบายส่งเสริมระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลว่าสามารถเพิ่มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (digital transformation) ให้สูงขึ้น และส่งผลบวกต่อการดำเนินธุรกิจในที่สุดหรือไม่นั้นจำเป็นจะต้องมีการวัดระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของธุรกิจโดยการวัด digital literacy ดังกล่าวไม่ควรมีความหมายแคบที่ครอบคลุมเฉพาะทักษะเชิงเทคนิคที่เกี่ยวกับการใช้ software และ hardware เพียงอย่างเดียวแต่ควรมีความหมายที่กว้างครอบคลุมทักษะทุกประเภทที่ทำให้บุคคลหรือผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้ชีวิตและประกอบอาชีพในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างสำเร็จ

กรอบแนวคิดการวัด SME digital literacy การพัฒนาเครื่องมือในการชี้วัด digital literacy ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมุ่งเป้าไปที่ทักษะความรู้ด้านดิจิทัลในระดับครัวเรือน

ครัวเรือน เช่น เครื่องมือที่พัฒนาโดย DQ Institute (2019) ที่พยายามสร้างมาตรฐานการวัด digital literacy ด้วย DQ (Digital Intelligence Quotients) หรือเครื่องมือที่พัฒนาโดย Carretero Gomez et al. (2017) ที่เรียกว่า DigComp 2.1 เป็นต้น ดังนั้นงานวิจัยโดย Ratanabanchuen et al. (2021) จึงได้พัฒนาดัชนีชี้วัด SME digital literacy ที่มุ่งเน้นวัดระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจ

SME digital literacy ที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญดังแสดงในรูป 1 ได้แก่

       1. Cognitive domain

      2. Soft skill domain

      3. Digital skill domain

      4. Digital business strategy domain

      5. Cybersecurity and data protection domain

 รูปที่ 1: กรอบแนวคิดการพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัลที่โครงการวิจัยนำเสนอ

กรอบแนวคิดการพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัลที่โครง การวิจัยนำเสนอ

กรอบแนวคิดนี้เกิดจากการให้ความสำคัญกับทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ (fundamental skillsets) ซึ่งจะนำไปสู่การมีทักษะในการเรียนรู้สิ่งใหม่และการทำความเข้าใจตรรกะการทำงานของอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ ในยุคดิจิทัล (technical skillsets) โดยหากมีทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลที่เหมาะสมแล้วและนำไปผนวกรวมกับความรู้พื้นฐานด้านการประกอบธุรกิจและการรักษาความปลอดภัยจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจมีทักษะในระดับบูรณาการทางดิจิทัล (integrated skillsets)

Ratanabanchuen et al. (2021) ได้วิเคราะห์ระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลของสถานประกอบการขนาดย่อมและขนาดเล็กในประเทศไทยจากการสุ่มตัวอย่างสถานประกอบการรวมทั้งสิ้น 2,014 แห่งใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่

     1.การบริการอาหารและเครื่องดื่ม

     2.ผู้ประกอบอาชีพอิสระใหม่

     3.การผลิต

     4.การขายปลีกหรือขายส่ง

พบว่าสามารถแบ่งกลุ่มสถานประกอบการด้วย K-mean clustering ออกตามระดับความรู้พื้นฐานด้านธุรกิจ (องค์ประกอบของ cognitive และ soft skill domain) และทักษะด้านดิจิทัล (องค์ประกอบของ digital skill, digital business strategy และ cybersecurity domain) ได้เป็น 4 clusters ดังรูป 2

รูปที่ 2: การแบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจตามกรอบแนวคิดการวัด SME digital literacy ที่นำเสนอภายใต้โครงการวิจัย

ที่มา: กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยจำนวน 2,014 กระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย และเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม การผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง และผู้ประกอบอาชีพอิสระใหม่

ผลการศึกษานี้ทำให้เข้าใจสถานการณ์ทักษะความรู้ของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในไทยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ

ผู้ประกอบธุรกิจในไทยบางส่วนจะมีเฉพาะระดับความรู้พื้นฐานด้านธุรกิจสูงในขณะที่บางส่วนจะมีเฉพาะทักษะด้านดิจิทัลสูงและส่วนใหญ่ร้อยละ 39.56 ของกลุ่มตัวอย่างมีทักษะที่ต่ำทั้ง 2 มิติ มีเพียงร้อยละ 16.85 ของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้นที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น digital expert ที่มีทักษะสูงในทั้ง 2 มิติ

กรอบแนวคิดการชี้วัด SME digital literacy และการแบ่งกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่มนี้นำมาสู่ความชัดเจนในการดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมทักษะความรู้ของผู้ประกอบธุรกิจโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ควรให้ความสำคัญเฉพาะกับทักษะทางเทคนิคที่เกี่ยวกับการใช้ software และ hardware เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ต้องให้ความสำคัญกับทักษะพื้นฐานตั้งแต่ระดับการคิดเชิงวิเคราะห์ การสร้างภาพเชื่อมโยงทักษะเสริม ทักษะพื้นฐานด้านการประกอบธุรกิจและความรู้เรื่องของสิทธิทางกฎหมายของการใช้เอกสารและข้อมูลดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย

นอกจากนี้ผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มต่างๆ ควรถูกส่งเสริมด้วยเนื้อหาความรู้ที่แตกต่างกันเช่น

1.ผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่ม digital infant ควรถูกฝึกฝนให้มีความคิดเชิงวิเคราะห์ตรรกะเหตุและผลและการเชื่อมโยงของปัจจัยต่าง ๆ ก่อนเป็นลำดับแรกแล้วจึงให้ความรู้พื้นฐานด้านการประกอบธุรกิจความรู้พื้นฐานถึงสิทธิทางกฎหมายด้านข้อมูลส่วนบุคคลในโลกดิจิทัลและมุ่งเน้นสอนทักษะด้านการใช้งาน software พื้นฐานเท่านั้นเป็นต้น

2.ในขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่ม digital expert ควรมุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องการใช้ software เฉพาะทางเช่น data analytics, supply-chain management, accounting & finance, customer relationship management และ process optimization เป็นต้น

และมุ่งเน้นให้สามารถบูรณาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปสร้างรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่หรือการบริหารช่องทางขายแบบ omnichannel ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นเมื่อวิเคราะห์ด้วย multinomial logistic regression เพิ่มเติมเพื่อบ่งชี้ถึงลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจในแต่ละกลุ่ม clusters พบว่า

1.เจ้าของธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม digital infant ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าอนุปริญญาประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นอาชีพเสริมโดยอาชีพหลักเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน มีการประกอบธุรกิจในกลุ่มขายปลีกและ/หรือขายส่ง และการผลิตเป็นหลัก

2.ในขณะที่เจ้าของธุรกิจที่มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป และประกอบอาชีพหลักเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน หรือข้าราชการมักจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่มีระดับทักษะความรู้ดิจิทัลในกลุ่ม digital first และ digital expert โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประเภทบริหารอาหารและเครื่องดื่ม และเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระใหม่ (ครอบคลุม blogger, influencer และ youtuber)

SME digital literacy และความสัมพันธ์กับ SME digital transformation index

การชี้วัดการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลนั้นส่วนใหญ่จะมีการพัฒนามาตรวัดที่เป็นการประเมินในระดับประเทศเช่น Digital Density Index ที่พัฒนาโดย Oxford Economics (2015) หรือ Digital Economy and Society Index ที่พัฒนาโดย European Commission (2021) เป็นต้น แต่หากเป็นการวัดการเปลี่ยนผ่านในระดับสถานประกอบการส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาโดยบริษัทที่ปรึกษาเช่น digital business aptitude ที่พัฒนาโดย KPMG (2015) หรือ digital maturity model ที่พัฒนาโดย Deloitte (2018) เป็นต้น

อย่างไรก็ตามเพื่อให้การชี้วัดมีความเหมาะสมกับบริบทของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในประเทศไทย Ratanabanchuen et al. (2021) จึงได้พัฒนาเครื่องมือชี้วัดที่เรียกว่า SME digital transformation index ที่มีกรอบแนวคิดของการประยุกต์ใช้ 3 ระดับดังแสดงในรูป 3 ได้แก่

      1.ระดับ digitization

      2.ระดับ digitalization

      3.ระดับ digital transformation

รูปที่ 3: กรอบแนวคิดพัฒนา SME digital transformation index

กรอบแนวคิดพัฒนา SME Digital transformation index

เมื่อทำการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างสามารถแบ่งกลุ่มสถานประกอบการด้วย K-mean clustering ตามระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้ 4 ระดับตั้งแต่ระดับ digital laggards, digital followers, digital adopters และ digital frontrunners โดยผลการศึกษาระหว่างระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลกับระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านดัชนีชี้วัดที่โครงการวิจัยนำเสนอนี้สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ 5 ประการดังนี้

1.ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม digital expert มีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงที่สุด ดังแสดงในรูป 4 ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม clusters ของระดับ SME digital literacy และกลุ่ม clusters ของระดับ SME digital transformation index

รูปที่ 4: ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม clusters ของ SME digital literacy และ SME digital transformation index

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม clusters ของ SME digital literacy และ SME digital transformation index

ที่มา: กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยจำนวน 2,014 กระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยและเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม การผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง และผู้ประกอบอาชีพอิสระใหม่

2.ผู้ประกอบธุรกิจหลายรายในกลุ่ม digital infant มีความพยายามในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วยตนเองแบบลองผิดลองถูกถึงแม้จะไม่มีความรู้มากนักเมื่อทำการวิเคราะห์เชิงลึกเพิ่มเติมถึงคุณลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่มนี้พบว่ามีลักษณะพื้นฐานเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวเป็นอาชีพหลักและหากประกอบธุรกิจส่วนตัวเป็นอาชีพเสริมจะเป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลายและอนุปริญญาและมุ่งเน้นการขายปลีกหรือขายส่งเป็นหลักผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกลุ่ม task force เพื่อเร่งให้ความรู้กับผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มนี้เพื่อให้สามารถปรับวิธีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความชาญฉลาดมากยิ่งขึ้นรวมถึงส่งเสริมความรู้ด้านการประกอบธุรกิจเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านี้เข้าใจการดำเนินธุรกิจจนสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม

3.ในปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในไทย ยังคงใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อผลประโยชน์ด้านการเพิ่มยอดขายและลูกค้าเป็นสำคัญ จะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดต้นทุนเพิ่มอัตราการทำกำไรหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เงินทุนในการประกอบธุรกิจดังแสดงในรูป 5

ดังนั้นการส่งเสริมทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการแบ่งกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจให้ชัดเจนหากเป็นผู้ประกอบธุรกิจกลุ่ม digital frontrunner ภาครัฐควรมุ่งเป้าให้ความรู้และเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น process automation หรือ data analytics ในขณะที่กลุ่ม digital laggards ภาครัฐจะต้องช่วยนำเสนอเครื่องมือในการเพิ่มยอดขายก่อนเป็นลำดับแรกเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีทัศนคติเชิงบวกและเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต

รูปที่ 5: ประโยชน์ที่ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในประเทศไทยได้รับจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ประโยชน์ที่ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในประเทศไทยได้รับจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ที่มา: กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยจำนวน 2,014 กระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยและเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม การผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง และผู้ประกอบอาชีพอิสระใหม่

4.เมื่อควบคุมด้วยปัจจัยด้านระดับการศึกษาของเจ้าของธุรกิจ ขนาดของธุรกิจ ประเภทของการประกอบธุรกิจและลักษณะการประกอบอาชีพ (เสริมหรือหลัก) ระดับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการมีรายได้ที่สูง อัตราการทำกำไรและการเติบโตของรายได้ในอนาคตสูงกว่าคู่แข่ง ดังนั้น หากผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในประเทศไทยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมจะช่วยสร้างรายได้และการเติบโตในอนาคตได้

5.การวิจัยยังพบว่าผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่ม digital front-runner มีสัดส่วนของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มากยิ่งขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งแตกต่างจากผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่ม digital laggards อย่างมากที่ส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติก็ตามดังแสดงในรูป 6

รูปที่ 6: การตัดสินใจประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็ก จำแนกตามระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล

การตัดสินใจประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็ก จำแนกตามระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล

ที่มา: กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยจำนวน 2,014 กระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยและเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม การผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง และผู้ประกอบอาชีพอิสระใหม่

Conclusion

ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมทักษะความรู้ด้านดิจิทัล (SME digital literacy) และจะต้องมีกรอบการดำเนินนโยบายที่ชัดเจนตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไม่ควรเป็นการให้ความรู้แบบหว่านแห หรือ one-size-fit-all แต่ควรมีการกำหนดเนื้อหาทักษะให้เหมาะสมกับผู้ประกอบธุรกิจแต่ละกลุ่มนอกจากนี้การส่งเสริมทักษะความรู้ดังกล่าวไม่ควรที่จะมีเพียงการพัฒนาหลักสูตรอบรมเพียงอย่างเดียว แต่ควรมีการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาเฉพาะ (consulting services) เพื่อชี้แนะแนวทางในระหว่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบธุรกิจมิเช่นนั้นแล้วผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่ม digital infant (ตามมิติ SME digital literacy) และกลุ่ม digital laggard (ตามมิติ SME digital transformation index) จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังจนนำมาสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในที่สุด

Cr. https://www.pier.or.th/

Related Post

ขายอะไรดี?
30Sep

ขายอะไรดี?

ขายอะไรดีคือคำถามยอดฮิตมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและจะถามอย่างนี้ไปอีกนานจนกว่าโลกจะแตกเพราะใครๆ ก็อยากขายได้ ขายดีกันทั้งนั้น

ธุรกิจตัดสินแพ้ชนะด้วยคน
09Sep

ธุรกิจตัดสินแพ้ชนะด้วยคน

บางครั้งเราอาจลืมคิดเรื่องคนว่าสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างไรแล้วไปทุ่มลงทุนด้านอื่นๆ เช่น เทคโนโลยี การตลาด การขายสุดท้ายธุรกิจไปไม่รอด

วิธีนำเงินบริษัทมาใช้แบบถูกต้อง
27Aug

วิธีนำเงินบริษัทมาใช้แบบถูกต้อง

หาเงินมาได้ก็อยากใช้เงินบ้างแต่ช้าก่อนหากเป็นเงินบริษัทต้องใช้ให้ถูกวิธีไม่งั้นปัญหาชีวิตจะตามได้ในภายหลัง

Digital Transformation กับ SME ไทย
26Aug

Digital Transformation กับ SME ไทย

SME ต้องเปลี่ยแปลงตัวเองตามโลกที่เปลี่ยนไปหากไม่ทำอะไรเลยนั่นคือการพร้อมฆ่าตัวตายจาก Digital ไปแบบไม่มีวันกลับ Digital Transformation

บริษัทได้คน ผู้สมัครได้งาน
28Jul

บริษัทได้คน ผู้สมัครได้งาน

งานคือเงินและเงินก็คืองานจะหางานอย่างไรให้ได้งานและบริษัทจะหาคนอย่างไรให้ได้คนนั่นคือทั่งสองฝ่ายต้องปรับตัวเข้าหากัน

2,300,000 คน
20Jul

2,300,000 คน

การบริหารที่ยากที่สุดคือการบริหารคนเพราะคนคือปัญหาที่มีขาและยิ่งคนจำนวน 2,300,000 คนนั้นจะเป็นอย่างไรความสับสนวุ่นวายจะเป็นอย่างไร

© 2022 hitexts. All rights reserved