ขายอะไรดี?
ขายอะไรดีคือคำถามยอดฮิตมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและจะถามอย่างนี้ไปอีกนานจนกว่าโลกจะแตกเพราะใครๆ ก็อยากขายได้ ขายดีกันทั้งนั้น
“การผูกขาดหรือการมีอำนาจเหนือตลาด” คือ
ก่อนอื่นเราต้องดูองค์ประกอบตามกฎหมายก่อน
กฎหมายการแข่งขันทางการค้า มีเรื่อง 3 เรื่องใหญ่ คือ
1.การใช้อำนาจผูกขาดโดยไม่ชอบ (Abuse of Dominant Power)
กฎหมายสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศกำหนดว่า
ผู้ประกอบการที่มีส่วนแบ่งตลาด (market share)
สูงถึงระดับที่อาจควบคุมตลาดได้จะเป็นความผิดตามกฎหมายในตัวเอง
แต่กฎหมายไทย (ซึ่งคล้ายกับกฎหมายประเทศในยุโรป)
กำหนดว่าการที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงจนอาจสามารถควบคุมตลาดได้หรือเรียกว่า “เป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด” นั้น ไม่เป็นความผิดในตัวเองแต่ห้ามไม่ให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาดทำการบางอย่าง
เช่น ห้ามกำหนดราคาหรือระดับราคาซื้อ/บริการโดยไม่เป็นธรรมหรือกำหนดเงื่อนไขการค้าที่ไม่เป็นธรรม
เช่น ขายสินค้าต่ำกว่าทุนเพื่อให้คู่แข่งอยู่ไม่ได้ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังกำหนด ห้ามทำการควบกิจการ หรือรวมกิจการไม่ว่าโดยซื้อหุ้นหรือซื้อทรัพย์สินของผู้ประกอบการอีกรายหนึ่ง
(merger & acquisition) ที่มีผลให้กลายเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการแข่งขันฯ ก่อนทำการควบรวม
2.การฮั้ว (Cartel)
การฮั้ว คือ การตกลงของผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป
เพื่อลดการแข่งขัน เช่น กำหนดราคาขายไปในทิศทางเดียวกัน
(กำหนดราคาเท่ากัน หรือกำหนดส่วนต่างราคา)
การจำกัดปริมาณสินค้า การแบ่งตลาด ฯลฯ เป็นการกระทำผิดกฎหมาย
จึงต้องระมัดระวังพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจเป็นการฮั้วได้ ซึ่งรวมถึงการกินโต๊ะแชร์ การประชุมสมาคมทางการค้าที่มักมีแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้าอาจนำไปสู่การฮั้วได้โดยการฮั้วจะเป็นความผิดทุกกรณี ไม่ว่าเป็นการกระทำของผู้ประกอบการรายเล็ก หรือรายใหญ่นอกจากนี้การฮั้วประมูลที่มีการตกลงกันว่าจะให้ใครเป็นผู้เสนอราคาเท่าไรก็ผิดตามกฎหมายนี้แม้จะเป็นการประมูลจัดซื้อจัดจ้างของภาคเอกชน
3.การปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Trade Practice)
การกระทำทางการค้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบการอื่น เช่น
บังคับหรือกำหนดเงื่อนไขไม่เป็นธรรมกับคู่ค้าที่มีอำนาจต่อรองน้อยกว่า
ไม่ว่าผู้ประกอบการจะเป็นรายใหญ่ หรือรายเล็ก การค้าที่ไม่เป็นธรรมขึ้นอยู่กับสถานการณ์และข้อเท็จจริงของคู่ค้าเป็นราย ๆ ไม่สามารถกำหนดกฎเกณฑ์ได้ชัดเจนตายตัว
คณะกรรมการจึงต้องออกแนวทางพิจารณาแต่ละเรื่อง (guideline) ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ
“ผู้มีอำนาจเหนือตลาด” (Dominant Position)
คือ ผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งที่อยู่ในตลาดสินค้าและบริการที่มีความสามารถ
ที่จะกำหนดราคาของสินค้าและค่าบริการโดยอิสระโดยปราศจากความกดดัน
จากการแข่งขันในตลาดรวมถึงอิทธิพลต่อการแข่งขันที่มิใช่เรื่องราคาด้วย
การกำหนดตัวผู้มีอำนาจเหนือตลาด ในทางกฎหมายมีอยู่สองแนวทาง
ที่อยู่ในตลาดเป็นเกณฑ์ กล่าวคือ มีการระบุไว้โดยชัดเจนถึงจำนวนร้อยละของการมีส่วนแบ่งตลาด
เช่น ร้อยละ 33.3 หากผู้ประกอบธุรกิจรายใดในตลาดมีส่วนแบ่งตลาดตามที่กฎหมายกำหนดถือว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดทันที
เช่น สถานะทางการเงิน ยอดการขาย เป็นต้น
แต่ตามกฎหมายของประเทศไทย ไม่ใช้หลัก Substantive Criteria
กล่าวคือไม่ได้ยึดถือเอาส่วนแบ่งตลาดมาเป็นเกณฑ์แต่เพียงอย่างเดียว
แต่จะพิจารณาถึงยอดเงินขายและสถานะทางการแข่งขันในตลาดเป็นองค์ประกอบในการกำหนดตัวผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดด้วย
ซึ่งในปัจจุบันตามกฎหมายของประเทศไทยผู้ที่มีอำนาจเหนือตลาด คือ
ผู้ประกอบธุรกิจรายใดที่มีส่วนแบงตลาดตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปและมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือ
ผู้ประกอบธุรกิจสามรายแรกในตลาดที่มีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมารวมกันตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไปและมียอดขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปถือว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดแล้ว
หลังจากการควบรวมกิจการเทสโก้ โลตัส กับ ซี.พี. เสร็จสิ้น
จะทำให้ค่าย ซี.พี.ของเจ้าสัวธนินท์ เจียวรนนท์
มีธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ในเครือข่ายมากที่สุดในประเทศไทย
1.เซเว่นอีเลฟเว่น 12,089 สาขา
2.แม็คโคร 136 สาขา
3.ซีพีเฟรชมาร์ท 400 สาขา
4.ซูเปอร์มาร์เก็ต ซีพี เฟรช 1 สาขา
5.เทสโก้ โลตัส มาเพิ่มอีก 2,046 สาขา
จะทำให้ ซี.พี.มีจำนวนสาขาร้านค้าปลีกทั้งสิ้น
ประมาณ 14,312 แห่งทั่วประเทศ (*ข้อมูล ณ วันที่ 14/11/20)
*โดยประมาณ
นี่คือการผูกขาดหรือไม่
ไม่ใช่เพียงเท่านี้แต่ ซี.พี. ยังเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของประเทศอีกด้วย
ว่ากันตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช หมู ไก่ เป็ด ไข่ กุ้ง ปลา ผัก ผลไม้ น้ำปลา ข้าวสารและอีกมากมายนับไม่ถ้วน
แม้กระทั่งรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ การเงิน ประกันภัย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม Internet รถไฟความเร็วสูง อสังหาริมทรัพย์และอีกมากรวมถึงต่างประเทศด้วย
เรียกว่านอกจากควบคุมช่องทางการจัดจำหน่ายไว้หมดแล้วยังผลิตสินค้าและบริการอีกครบถ้วนทั้งของกินของใช้ประจำวันของจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์และภาคธุรกิจต่างๆ อีกด้วย
อะไรจะสกัดกั้นกลุ่มการค้าธุรกิจของยักษ์ใหญ่รายนี้และรายอื่นๆ ได้บอกเลย…ไม่มีทาง…หากภาครัฐไม่ลงมาจัดการปัญหานี้
เช่น ออกกฎหมายไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด
1.ไม่ให้ผูกขาดการขายสินค้าและบริการของตนเองและในเครือเท่านั้น
ในช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งหมดของตนเอง ต้องมีสินค้าจากผู้ผลิตรายอื่นรวมถึง SME ผสมอยู่ด้วยไม่น้อยร้อยละ 50%
2.ไม่ให้ชำระเงินให้กับผู้ผลิตรายอื่นรวมถึง SME เกินกว่า 30 วันนับจากวันสั่งซื้อ
3.ให้กำหนดเงื่อนไขการนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในช่องทางต่างๆ ของตนเองตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เอาแค่ 3 ข้อนี้ SME ก็ยังพอจะอยู่รอดได้
แผนการที่ดี เริ่มจากการมี…ที่ปรึกษา…ที่ดี
ขายอะไรดีคือคำถามยอดฮิตมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและจะถามอย่างนี้ไปอีกนานจนกว่าโลกจะแตกเพราะใครๆ ก็อยากขายได้ ขายดีกันทั้งนั้น
บางครั้งเราอาจลืมคิดเรื่องคนว่าสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างไรแล้วไปทุ่มลงทุนด้านอื่นๆ เช่น เทคโนโลยี การตลาด การขายสุดท้ายธุรกิจไปไม่รอด
หาเงินมาได้ก็อยากใช้เงินบ้างแต่ช้าก่อนหากเป็นเงินบริษัทต้องใช้ให้ถูกวิธีไม่งั้นปัญหาชีวิตจะตามได้ในภายหลัง
SME ต้องเปลี่ยแปลงตัวเองตามโลกที่เปลี่ยนไปหากไม่ทำอะไรเลยนั่นคือการพร้อมฆ่าตัวตายจาก Digital ไปแบบไม่มีวันกลับ Digital Transformation
คำว่า Trend นั้นเป็นคำที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ไม่ว่าจะในแง่ของการตลาด ธุรกิจ เศรษฐกิจ หรือความนิยมในสังคม ณ ช่วงนั้น
งานคือเงินและเงินก็คืองานจะหางานอย่างไรให้ได้งานและบริษัทจะหาคนอย่างไรให้ได้คนนั่นคือทั่งสองฝ่ายต้องปรับตัวเข้าหากัน