hitexts

Hi, We texts to you.

สันติภาพ คือ อารยธรรมมนุษย์

สหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (United Nation : UN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการนำสันติภาพมาสู่โลกเพื่อให้ประชาชนทุกชาติทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขก่อตั้งขึ้นครั้งแรกวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 จากการร่วมมือกันของนายวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเหตุผลในการก่อตั้ง 3 ประการคือ

1.เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี

2.เพื่อเป็นแกนกลางในการนำสันติภาพมาสู่โลก

3.เพื่อเป็นศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

องค์การสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเริ่มแรกของการก่อตั้งมีจำนวน 51 ประเทศที่ได้เข้าร่วมลงนามและปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก (ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 55)

โดยมีภาษาทางการที่ใช้อยู่ 6 ภาษา ได้แก่

1.อังกฤษ

2.ฝรั่งเศส

3.สเปน

4.รัสเซีย

5.จีน และ

6.อาหรับ

เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ นายอังตอนียู กูแตรึช อดีตนายกรัฐมนตรีโปรตุเกสโดยเป็นเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนที่ 9 เลขาธิการสหประชาชาติจะดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปีโดยจะดำรงตำแหน่งคนละหนึ่งหรือสองสมัยและตามธรรมเนียมแล้วจะต้องไม่เป็นบุคคลจากประเทศสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงนอกจากนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันว่าบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะต้องมาจากประเทศนอกทวีปของเลขาธิการคนล่าสุดเลขาธิการสหประชาชาติเป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการสหประชาชาติซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติโดยตามกฎบัตรสหประชาชาติการแต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติจะต้องได้รับมติจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะเป็นฝ่ายเสนอตัวบุคคลที่มารับตำแหน่งนี้ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสูงสุดในองค์การสหประชาชาติ

องค์กรหลักของสหประชาชาติประกอบด้วย 6 องค์กร คือ

1.สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (General Assembly)

2.คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council; UNSC)

3.คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council)

4.คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) (ปัจจุบันได้ยกเลิกแล้ว)

5.สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ (The Secretariat)

6.ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice)

องค์กรสหประชาชาติมีหน้าที่

1.เพื่อรักษาสันติภาพโลก

2.เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม

3.เพื่อแก้ไขปัญหาอาณานิคม

4.เพื่อการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

5.เพื่อเป็นศูนย์กลางในการร่วมมือ

6.เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ

ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ประณามรัสเซียในการผนวกแคว้นต่าง ๆ ของยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน หลังจากรัสเซียใช้สิทธิวีโต้มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามผนวกดินแดนยูเครนของรัสเซีย

เมื่อวันพุธ (12 ต.ค.) ที่นครนิวยอร์กสหรัฐอเมริกาที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ 143 ประเทศจาก 193 ประเทศหรือ 3 ใน 4 ลงมติเห็นชอบญัตติประณามดังกล่าวที่ระบุว่าความพยายามของรัสเซียในการผนวกดินแดน 4 แคว้นของยูเครน เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ในการโหวตครั้งนี้มีเพียง 4 ประเทศเท่านั้นที่เข้าร่วมกับรัสเซียในการลงคะแนนเสียงคัดค้านมติดังกล่าวได้แก่ ซีเรีย นิการากัว เกาหลีเหนือและเบลารุส

ส่วนอีก 35 ประเทศงดเว้นจากออกเสียงในจำนวนนี้รวมถึง จีน พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ของรัสเซีย อินเดีย ลาว ปากีสถาน เวียดนาม ไทย ศรีลังกา ซูดาน ปากีสถาน มองโกเลีย ทาจิกิสถาน และประเทศแถบแอฟริกาหลายประเทศ

ขณะที่ชาติอาเซียนอื่น ๆ ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน ติมอ เลสเต เห็นด้วยกับมติสหประชาชาติ 

ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของประเทศบนเวทีโลก

เหตุผล “ไทย” งดออกเสียงมติยูเอ็นประณาม “รัสเซีย” ผนวก 4 แคว้นยูเครน

กระทรวงการต่างประเทศเผยแพร่เอกสารคำอธิบายเกี่ยวกับงดออกเสียงลงคะแนนในร่างข้อมติ: UNGA Emergency Special Session ครั้งที่ 11 “Territorial Integrity of Ukraine” ดังนี้

  1. ในฐานะประเทศขนาดเล็กที่มีอำนาจอธิปไตยประเทศไทยยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศเป็นสำคัญเสมือนแนวป้องกันสุดท้ายไทยยังยึดถือโดยชัดแจ้งต่อ “หลักการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน” ของรัฐต่างๆ ตามหลักของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติประเทศไทยยึดถือนโยบายมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องว่าจะคัดค้านการ “ข่มขู่คุกคามหรือใช้กำลังต่อบูรณภาพแห่งดินแดน” ของรัฐใดรัฐหนึ่งและการใช้กำลังผนวกดินแดนของรัฐอื่น โดยไม่ได้ถูกยั่วยุ
  2. อย่างไรก็ดีประเทศไทยเลือกที่จะ “งดออกเสียงลงคะแนน” ต่อข้อมติซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศและมีสถานการณ์ขึ้นลงอย่างรุนแรงซึ่งเป็นการ “ด้อยค่าต่อโอกาสการทูต” เพื่อแก้วิกฤตจะยังผลให้เกิดการเจรจาข้อมติที่สันติและปฏิบัติได้จริงเพื่อแก้ไขความขัดแย้งซึ่งอาจผลักให้โลกไปสู่ความเสี่ยงของ “สงครามนิวเคลียร์และการพังทลายของเศรษฐกิจโลก”
  3. ประเทศไทยมีความห่วงกังวลอย่างแท้จริงต่อการแบ่งแยกขั้วทางการเมืองที่สูงขึ้นในหลักการระหว่างประเทศซึ่งทำให้เกิดผลในทางลบต่อวิธีการและแนวทาการรยุติสงครามการประณามนั้นยั่วยุให้เกิดการแข็งขืนไม่ยอมกันและลดทอนโอกาสของการมีปฏิสัมพันธ์อย่ำงสร้างสรรค์เป็นอย่างยิ่ง
  4. ประเทศไทยโศกเศร้าเสียใจกับการทำลายล้างทางกายภาพ ทางสังคม และทางมนุษยธรรมของยูเครนและความยากลำบากที่รุนแรงซึ่งประชาชนชาวยูเครนต้องทนทุกข์ทรมานไทยจึงต้องการเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายในโศกนาฏกรรมในยูเครนนี้จะต้องลดความขัดแย้งและความรุนแรงทั้งพยายามเสาะหา “สันติวิธี” เพื่อจัดการกับความไม่ลงรอย

จากเหตุผล 4 ข้อของไทยในการงดออกเสียงมติยูเอ็นประณาม “รัสเซีย” ผนวก 4 แคว้นยูเครนครั้งนี้นั้นดูหล่อ ดูดี ดูมีชั้นเชิงการทูตชั้นเซียนเยียบเมฆเลยทีเดียว

Conclusion

แต่ความเป็นจริงแล้วนี่คือความไร้ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิและไร้อารยธรรมของประเทศไทยในเวทีโลกที่ได้แสดงออกถึงความขี้ขลาดไม่เป็นตัวของตัวเองไม่กล้าแสดงออกถึงความเป็นรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ความเป็นรัฐอิสระและบูรณภาพแห่งดินแดนไม่ได้เป็นทาสหรือเมืองขึ้นของใคร

สิ่งที่ถูกต้องไทยต้องออกเสียงสนับสนุนมติสหประชาชาติในครั้งนี้อย่างไม่มีเหตุผลใดๆ 

ที่จะนำมากล่าวอ้างในการงดออกเสียงได้

ถ้าจะงดออกเสียงจริง ๆ กล้าหรือไม่ที่จะทำประชามติถามประชาชนในประเทศทั้งหมดว่ามีความเห็นอย่างไรในกรณีนี้

1.เห็นด้วยกับมติสหประชาชาติ

2.งดออกเสียง

Related Post

ประชาชนต้องไม่แบ่งข้างหรือแยกขั้วทางการเมือง
23Jul

ประชาชนต้องไม่แบ่งข้างหรือแยกขั้วทางการเมือง

ประชาชนต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียวและทำความเข้าใจการเมืองไทยอย่างถ่องแท้รู้ว่าประเทศปกครองในระบอบอะไร ระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างไร กระทรวงต่างๆ มีหน้าที่อะไรบ้าง

ทำไมจึงต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
08Jul

ทำไมจึงต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อมีการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปกครองเมื่อการปกครองก็ต้องมีการจัดระบอบการปกครองขึ้นมาเพื่อใช้ในการปกครองมนุษย์ด้วยกันซึ่งปัจจุบันมี 2 แบบหลัก (ไม่ข้อกล่าวถึงแบบแยกย่อยต่างๆ)

Cardiovascular Disease (CVD)
08Jul

Cardiovascular Disease (CVD)

การทานอาหารทั้ง 6 ชนิดนี้ให้เพียงพอช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ใหญ่ได้ Cardiovascular Disease (CVD)

เกาเหลาเนื้ออร่อยไร้เทียมทาน
21Jan

เกาเหลาเนื้ออร่อยไร้เทียมทาน

กินก่อนตายไม่เสียดายชาติเกิดเกาเนื้อที่ทำด้วยจอมยุทธเซี้ยเดี่ยวมือหนึ่งเกาเหลาเนื้อจ้าวยุทธจักรที่ยากจะหาผู้ต่อกรได้

รัสเซียยูเครน
13Oct

รัสเซียยูเครน

สงครามคือหนึ่งในเรื่องที่โหดร้ายของมนุษย์ในการเข่นฆ่ากันเองและถือเป็นเรื่องล้าหลังและไร้อารยธรรมของความเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง

เศรษฐกิจดีหรือไม่ดีดูจากอะไร
21Sep

เศรษฐกิจดีหรือไม่ดีดูจากอะไร

ทำไมบางช่วงหาเงินยากบางช่วงก็หาเงินง่ายอะไรคือตัวแปรหลักและเราจะต้องทำไงในแต่ละช่วงเวลาที่บอกว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี

© 2022 hitexts. All rights reserved