hitexts

Hi, We texts to you.

ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease: CVD) คือกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการที่หลอดเลือดตีบตันหรือขาดความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุที่บริเวณผนังหลอดเลือด ตัวอย่างโรคเช่น หัวใจล้มเหลว (Heart Failure), หัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease), โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), และโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ปัจจัยเสี่ยงของโรคในกลุ่มนี้มาจาก ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ภาวะคลอเรสเตอรอลสูง, สูบบุหรี่, ดื่มสุรา, และโรคในกลุ่มนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ ของคนไทย (รวมถึงในทั่วโลกด้วย)

โดยปกติแล้วแนวทางลดความเสี่ยงสามารถทำได้โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้หลอดเลือดและระบบภายในของเราแข็งแรงสูบฉีดได้เป็นปกติ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ไม่ทานอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งมากจนเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดและคิดมาก
แต่ในบทความนี้จะขอแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหาร 6 ชนิดที่ควรรับประทานเพื่อช่วยลดปัจจัยเสี่ยง โดยมีทั้งหมดดังนี้

  1. ผลไม้ (Fruits)
  2. ผัก (Vegetables)
  3. พืชตระกูลถั่ว (Legumes)
  4. ถั่ว (Nuts)
  5. ปลา (Fish)
  6. ผลิตภัณฑ์นมแบบ Whole-fat (Whole-Fat Dairy Products)

การรับประทานอาหารทั้ง 6 ชนิดนี้ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มโรค CVD ได้ นอกจากนี้การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น การรับประทานธัญพืชไม่ขัดสี หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการแปรรูปในปริมาณที่พอเหมาะก็สามารถทำได้เช่นกัน

Conclusion

แนะนำว่าในแต่ละวันควรบริโภคอาหารเหล่านี้โดยเฉลี่ยคือ

  • ผลไม้ 2-3 มื้อ/วัน
  • ผัก 2-3 มื้อ/วัน
  • ถั่ว 1 มื้อ/วัน
  • นม 2 มื้อ/วัน
  • พืชตระกูลถั่ว 3-4 มื้อ/สัปดาห์
  • ปลา 2-3 มื้อ/สัปดาห์
    และอื่น ๆ ที่ช่วยทดแทนด้านโปรตีน
  • โฮลเกรน 1 มื้อ/วัน
  • เนื้อแดงหรือสัตว์ปีกที่ไม่แปรรูป 1 มื้อ/วัน

หมายเหตุ: ในที่นี้หมายถึงควรมีอาหารจำพวกนี้ผสม ๆ กันในแต่ละมื้อ และกินตามจำนวนสัดส่วนมื้อต่อวันหรือสัปดาห์

Reference

  • McMaster University. (2023, July 6). Not eating enough of these six healthy foods is associated with higher cardiovascular disease and deaths globally: Diet score derived from ongoing, large-scale global Prospective Urban and Rural Epidemiological (PURE) study. ScienceDaily. Retrieved July 7, 2023 from www.sciencedaily.com/releases/2023/07/230706231347.htm
  • Theerapuncharoen, N. (2019). The Risk for Cardiovascular Disease among Personnel in Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University – ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. Journal of Health Science – วารสารวิชาการสาธารณสุข28, 137–145. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/7171
  • https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/12/QS_Risk-Score.pdf

Related Post

ประชาชนต้องไม่แบ่งข้างหรือแยกขั้วทางการเมือง
23Jul

ประชาชนต้องไม่แบ่งข้างหรือแยกขั้วทางการเมือง

ประชาชนต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียวและทำความเข้าใจการเมืองไทยอย่างถ่องแท้รู้ว่าประเทศปกครองในระบอบอะไร ระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างไร กระทรวงต่างๆ มีหน้าที่อะไรบ้าง

สมอง (Brain) กับการประมวลผลตัวเลข เกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อมีการคิดเกี่ยวกับตัวเลข
09Jul

สมอง (Brain) กับการประมวลผลตัวเลข เกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อมีการคิดเกี่ยวกับตัวเลข

การศึกษาเรื่องของสมองกับการประมวลผลตัวเลขนี้ช่วยให้มนุษย์เข้าใจขั้นตอนการทำงานและฟังก์ชันของสมองมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การรักษาและการคิดค้นรูปแบบใหม่

ทำไมจึงต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
08Jul

ทำไมจึงต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อมีการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปกครองเมื่อการปกครองก็ต้องมีการจัดระบอบการปกครองขึ้นมาเพื่อใช้ในการปกครองมนุษย์ด้วยกันซึ่งปัจจุบันมี 2 แบบหลัก (ไม่ข้อกล่าวถึงแบบแยกย่อยต่างๆ)

Cardiovascular Disease (CVD)
08Jul

Cardiovascular Disease (CVD)

การทานอาหารทั้ง 6 ชนิดนี้ให้เพียงพอช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ใหญ่ได้ Cardiovascular Disease (CVD)

เกาเหลาเนื้ออร่อยไร้เทียมทาน
21Jan

เกาเหลาเนื้ออร่อยไร้เทียมทาน

กินก่อนตายไม่เสียดายชาติเกิดเกาเนื้อที่ทำด้วยจอมยุทธเซี้ยเดี่ยวมือหนึ่งเกาเหลาเนื้อจ้าวยุทธจักรที่ยากจะหาผู้ต่อกรได้

รัสเซียยูเครน
13Oct

รัสเซียยูเครน

สงครามคือหนึ่งในเรื่องที่โหดร้ายของมนุษย์ในการเข่นฆ่ากันเองและถือเป็นเรื่องล้าหลังและไร้อารยธรรมของความเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง

© 2022 hitexts. All rights reserved