hitexts

Hi, We texts to you.

Digital Footprint คือ อะไร

บางคนแปลกใจว่าทำไมมีโทรศัพท์เบอร์แปลกๆ โทรมาหามีการยิง Ads ถึงเราบ่อยๆ และบางครั้งยังรู้อีกว่าเราอยู่ที่ไหน ทำอะไร พูดอะไร เขียนอะไร กินอะไร ติดต่อใคร ซื้ออะไร จ่ายเงินใคร รับเงินจากใครบ้างเป็นต้น ทั้งที่เราไม่เคยไปบอกหรือให้ข้อมูลมาก่อนแต่อย่างใดทำไมคนอื่นรู้จักเราได้ไง หรือแม้กระทั่งโจรที่หนีตำรวจแล้วเล่น Facebook ไปด้วยหรือใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างหลบหนีแล้วโดนจับได้ บางคนสงสัยว่ามันรู้ได้ไงว่ะ เคย post เคยเขียน เคยลงรูป เคยว่า เคยด่า เคยโม้อะไรต่างๆ เหล่านี้ก็จริงแต่ลบไปหมดแล้วแถมบอกว่าลบไปตั้งนานแล้วด้วย แต่ความจริงมันยังอยู่ครบครับในโลกของ Internet !!!

หลายคนที่ใช้ Internet ไม่ว่าเป็นการหาข้อมูลบน Google (SEO) รวมถึงการใช้ Social Media ต่างๆ เช่น Facebook, IG, Twitter, Line, TikTok, YouTube ไม่ว่าจะเป็นการ post, comment, share, หรือการใช้งาน Website ต่างๆ เช่น Pantip, Snook, Kapook แม้กระทั่งการรับส่ง Email และการเปิดใช้ Location ใน Smartphone และการใช้งาน Application เช่น Lazada, Shopee Mobile Baking ต่างๆ ด้วยพูดง่ายๆ ว่าถ้าเราใช้ Internet เมื่อไหร่ก็จะมีการเก็บบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งานไว้ทันที การเดินทางของข้อมูลต่างๆ ผ่าน website หรือช่องทาง online ต่างๆ เหล่านี้ถูกเรียกว่า “Digital Footprint” (รอยเท้าบนโลก Online หรือ Internet) ซึ่งมันจะยังคงอยู่ไปตลอดกาล

ประเด็นที่น่าสนใจคือข้อมูลดังกล่าวมีอะไรมากกว่าที่เราคิด สิ่งที่ website จะได้ไปนั้นไม่ใช่แค่ข้อมูลส่วนตัว สถานะ (Status) หรือรูปถ่ายข้าวกลางวัน สถานที่ไปเที่ยว แต่รวมไปถึงจำนวนการคลิกลิงก์ วินาทีการดูโฆษณา การใช้เวลาบนเว็บไซต์ รวมถึงการค้นหาต่างๆ เรียกได้ว่าโลกอินเทอร์เน็ตอาจรู้จักตัวคุณมากกว่าที่คุณรู้จักตัวเองเสียด้วยซ้ำ

Digital Footprint ถูกแบ่งออกเป็นรูปแบบใหญ่ๆ 2 แบบคือ

1.Active Digital Footprint คือ Digital Footprint ที่ผู้ใช้ “เจตนาบันทึก” ข้อมูลชนิดนี้จะเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการบันทึกลงบนอินเทอร์เน็ตตั้งแต่แรก เช่น การโพสต์สิ่งต่างๆ ลงบน Social Media การลงรูป การส่งอีเมล เป็นต้น

2.Passive Digital Footprint คือ Digital Footprint ที่ผู้ใช้ “ไม่เจตนาบันทึก” ข้อมูลที่ไม่เจตนาบันทึกมักอยู่ในการทำงานเบื้องหลังของคอมพิวเตอร์ ที่หลายๆ คนไม่รู้สึกถึงการคงอยู่ของมันด้วย เช่น History ในการค้นหาต่างๆ บันทึกการเข้าเว็บไซต์ การคลิกลิงก์ภายในเว็บไซต์ ไปจนถึงช่วงเวลาในการใช้งานเว็บและแอปพลิเคชัน

ประโยชน์ของ Digital Footprint มีอะไรบ้าง

1.มีไว้เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ บนโลก Online หรือ Internet

เพื่อไว้ติดตามแกะรอยผู้ใช้งานนั่นเองอย่าลืมว่าอาชญากรรมทางดิจิทัลนั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามยุคสมัยและการเก็บบันทึก Digital Footprint จะส่งผลให้ทางหน่วยงานสามารถตามรอยบุคคลต้องสงสัยต่างๆ ได้ง่ายและเร็วขึ้น

2.มีไว้เพื่อทำการตลาดแบบหยั่งรู้ดินฟ้า (เดาใจลูกค้าได้)

หลายครั้งเราโดนยิง Ads มาหาบ่อยมากจนเกิดความสงสัยว่า มึงรู้ได้ไงว่ะกูอยากกินบุฟเฟต์ร้านนี้ ชอบเสื้อผ้า รองเท้าชุดนี้ อยากไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ชอบเพลงนั้น ชอบดาราคนนี้ ไม่ชอบคนนั้น สิ่งเหล่านี้มันเกิดจากที่เราเคยใช้ Internet เปิดดูนั่นนี่มาก่อนนั่นเอง มันก็เลยส่งโฆษณามาหลอกหลอนเราแบบไม่เลิก (จากข้อมูลการใช้งาน Internet ที่เราทิ้งร่องรอยไว้นั่นเอง) ไม่ใช่เกิดจากความสามารถอันเก่งกาจของนักการตลาดที่โม้กันอยู่ในโลก Internet แต่อย่างใด

3.เป็นข้อมูลให้กับธุรกิจ ร้านค้าต่างๆ วางแผนธุรกิจได้ดีขึ้น

Digital Footprint นั้นรวมถึงการเก็บข้อมูลการซื้อ ขาย และการจัดการสต็อกต่างๆ ในร้านค้าซึ่งการบันทึกข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ห้างร้านต่างๆ สามารถจัดการข้อมูลของตนเองได้และนำของมาเติมสต็อกรวมถึงการคิดแผนโปรโมตสินค้าได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

เมื่อมีประโยชน์มันก็มีโทษเช่นกันเพราะการเก็บข้อมูลดังกล่าวมันพาดพิงไปกับเรื่องความเป็นส่วนตัวของเราทุกคนด้วย (User Privacy) คือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและมีการนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางในทางทุจริตผิดกฎหมายหรือทำให้เราได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง เกิดความอับอาย และเดือดร้อนรำคาญ รบกวนเวลาต่างๆ ของเราด้วยเพราะเหตุนี้จึงต้องมีการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA) เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเราไม่ให้ถูกละเมิด ถูกเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอมหรืออนุญาตจากเราก่อน (วันหลังจะนำเขียนสรุปให้อ่านกันต่อไป)

สิ่งที่เราต้องทำตอนนี้ก็คือป้องกันตัวเองไว้ก่อน เช่น

1.ระมัดระวังก่อนการโพสต์-แชร์ อะไรก็ตาม (อย่าลืมว่าถึง “ลบแล้ว” มันก็ยังอยู่)

เนื่องจากการโพสต์หรือแชร์สิ่งต่างๆ บนโลกออนไลน์จะมีคนเห็นและมีการบันทึกลงในแพลตฟอร์มนั้นๆ อยู่เสมอการระวังตั้งแต่ต้นถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตห้ามไป post, comment, share, อะไรต่างๆ เพราะความมันมือ มันปากและของขึ้นของเราเองเด็ดขาด

2.ไม่ใส่ข้อมูลส่วนตัวใน Social Media เยอะเกินความจำเป็น

การใส่ข้อมูลในโซเชียลมีเดียมากจนเกินไปจะทำให้แพลตฟอร์มนั้นๆ “รู้เรื่องของเรา” มากกว่าที่เราต้องการหากไม่ต้องการทิ้ง Digital Footprint ไว้มากควรกรอกข้อมูลแค่ช่องที่จำเป็นเท่านั้นบางคนจัดเต็มใส่ไปเพียบทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร email, line id, สถานะส่วนตัวโสด แต่งงานแล้ว ชอบเพลงแนวนั้น แนวนี้ ชอบอาหารไทย ไม่ชอบอาหารฝรั่ง เป็นต้น

3.ตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ให้เป็น Private

การตั้งข้อมูลทุกอย่างเป็น Public ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจะทำให้ Digital Footprint ของคุณเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็น Private หรือเฉพาะคนรู้จักจะช่วยจำกัดเรื่องนี้ได้ไม่น้อย

4.ลองค้นหาตัวเองใน Google ดู

หากสงสัยว่า Digital Footprint ของคุณมากหรือน้อยขนาดไหนเรื่องง่ายๆ ที่ทำได้เลยคือลองค้นหาตัวเองใน Google ดูถ้าไม่เจอข้อมูลหรือเจอข้อมูลน้อยมากก็แสดงว่าในเบื้องต้นคุณก็ไม่ใช่คนที่มี Digital Footprint ที่ต้องกังวลมากนัก

5.ระมัดระวังการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนอื่นๆ

การเข้าเว็บไซต์ผิดกฎหมาย การคลิกลิงก์แปลกๆ อาจแฝงไปด้วยระบบที่ติดตามข้อมูลรวมถึงล้วงข้อมูลที่คุณอาจไม่ต้องการเปิดเผยรวมถึงเก็บ Digital Footprint โดยที่คุณไม่ยินยอมดังนั้นในการท่องโลกอินเทอร์เน็ตควรใส่ใจเรื่องของความปลอดภัยเป็นสำคัญ (ปัจจุบันทุก website ที่มี Cookie จะขอความยินยอมจากเราก่อนในการใช้ website นั้น เราสามารถตั้งค่าและกดไม่ให้ความยินยอมในการเก็บข้อมูลส่วนตัวเราได้)

Conclusion

Digital Footprint หรือที่รู้จักกันในชื่อรอยเท้าดิจิทัล คือ ร่องรอยการใช้งานอินเทอร์เน็ตของบุคคลนั้นๆ

ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่เรายินยอมและไม่ยินยอมในปัจจุบันยังมีการตั้งคำถามถึงเรื่องของความเป็นส่วนตัวจากผู้ให้บริการเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่มีการเก็บ Digital Footprint แต่ก็ยังไม่ได้มีการตอบรับอะไรเท่าที่ควรจึงต้องมีการออกกฎหมาย PDPA มาจัดการ ดังนั้นผู้ใช้งานควรมีการระมัดระวังตัวเอง อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไปรวมถึงระมัดระวังในการใช้ Social Media ต่างๆ เพื่อให้ Digital Footprint ของเราเองรวมถึงข้อมูลต่างๆ ไม่ถูกนำไปใช้ในภายหลัง

Related Post

ประชาชนต้องไม่แบ่งข้างหรือแยกขั้วทางการเมือง
23Jul

ประชาชนต้องไม่แบ่งข้างหรือแยกขั้วทางการเมือง

ประชาชนต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียวและทำความเข้าใจการเมืองไทยอย่างถ่องแท้รู้ว่าประเทศปกครองในระบอบอะไร ระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างไร กระทรวงต่างๆ มีหน้าที่อะไรบ้าง

ทำไมจึงต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
08Jul

ทำไมจึงต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อมีการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปกครองเมื่อการปกครองก็ต้องมีการจัดระบอบการปกครองขึ้นมาเพื่อใช้ในการปกครองมนุษย์ด้วยกันซึ่งปัจจุบันมี 2 แบบหลัก (ไม่ข้อกล่าวถึงแบบแยกย่อยต่างๆ)

Cardiovascular Disease (CVD)
08Jul

Cardiovascular Disease (CVD)

การทานอาหารทั้ง 6 ชนิดนี้ให้เพียงพอช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ใหญ่ได้ Cardiovascular Disease (CVD)

เกาเหลาเนื้ออร่อยไร้เทียมทาน
21Jan

เกาเหลาเนื้ออร่อยไร้เทียมทาน

กินก่อนตายไม่เสียดายชาติเกิดเกาเนื้อที่ทำด้วยจอมยุทธเซี้ยเดี่ยวมือหนึ่งเกาเหลาเนื้อจ้าวยุทธจักรที่ยากจะหาผู้ต่อกรได้

รัสเซียยูเครน
13Oct

รัสเซียยูเครน

สงครามคือหนึ่งในเรื่องที่โหดร้ายของมนุษย์ในการเข่นฆ่ากันเองและถือเป็นเรื่องล้าหลังและไร้อารยธรรมของความเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง

เศรษฐกิจดีหรือไม่ดีดูจากอะไร
21Sep

เศรษฐกิจดีหรือไม่ดีดูจากอะไร

ทำไมบางช่วงหาเงินยากบางช่วงก็หาเงินง่ายอะไรคือตัวแปรหลักและเราจะต้องทำไงในแต่ละช่วงเวลาที่บอกว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี

© 2022 hitexts. All rights reserved